บทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสรรพคุณขมิ้นชัน สมุนไพรอันแสนมหัศจรรย์ชนิดนี้กันให้มากขึ้น เชื่อได้ว่าหลาย ๆ คนคงเคยใช้สูตรสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อบำรุงผิวพรรณกันมาบางอย่างแน่นอน และหนึ่งในสมุนไพรยอดนิยมสำหรับการบำรุงผิวนั่นก็คือขมิ้นชันชันนั่นเอง ซึ่งการใช้ขมิ้นชันชันในการบำรุงผิวพรรณและใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นก็มีกันมาตั้งแต่สมัยโบราณนานมาแล้ว โดยเฉพาะการนำขมิ้นชันไปใช้สำหรับการประกอบอาหาร เรียกได้ว่าเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยและอยู่คู่ครัวไทยมาอย่างช้านาน
Table of Contents
1. ข้อมูลทั่วไปของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันชัน (Turmeric) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. สำหรับในประเทศไทยก็จะมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกอย่างเช่น ขมิ้นชันแกง ขมิ้นชันชัน ขมิ้นชันหยอก ขมิ้นชันหัว ขี้มิ้น ตายอ สะยอ และหมิ้น เป็นต้น โดยขมิ้นชันจัดเป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิงมีลักษณะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะเหง้าเป็นรูปไข่ มีรูปร่างอ้วนสั้น แตกแขนงเป็นรูปทรงกระบอกออกทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านตรงข้ามกัน โดยจะแทงเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกัน เนื้อในเป็นสีเหลือง สีเหลืองเข้ม จนถึงสีส้มจัด มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี สูงประมาณ 30-95 เซนติเมตร ลักษณะใบเป็นรูปใบหอก ช่อดอกจะแทงออกจากเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีการระบายน้ำดี นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและทำตำรับยาหลายขนาน
2. สารสำคัญและคุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นชัน
อย่างที่ทราบกันดีว่าขมิ้นชันนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้งานกันมาอย่างยาวนาน และเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียบ้านเรา มีรสเผ็ดร้อนและมีรสขมเล็กน้อย นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกงเนื่องจากมีสีสันและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในขมิ้นชันก็จะพบอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มก็คือ เคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ขมิ้นชันมีสีเหลืองนั่นเอง โดยสารชนิดนี้จะเป็นสารในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoid) ซึ่งเป็นสารประเภทโพลีฟีนอล (polyphenols) และสารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหย monoterpenoids นอกจากนี้ขมิ้นชันก็ยังมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ โดยประกอบไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โซเดียม วิตามินเอ วิตามินบีรวม เป็นต้น
3. สรรพคุณขมิ้นชัน
ต้องบอกว่าขมิ้นชันนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน โดยทางแพทย์ไทยแผนโบราณก็ได้มีการนำขมิ้นชันมาทำเป็นตำรับยาหลายขนาน โดยในปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมีของขมิ้นชันเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการแพทย์ทางเลือก โดยในปัจจุบันขมิ้นชันนั้นก็ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันนั้นก็สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกเลยทีเดียว สำหรับสรรพคุณของขมิ้นชันมีดังต่อไปนี้
- เมื่อใช้รักษาภายในก็จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
- จุกเสียดแน่นท้อง
- แก้ท้องเสีย
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- บำรุงธาตุ
- แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
- อาการปวดประจำเดือน
- ลดอาการอักเสบ
- แก้หวัด ลดไข้
- ขับปัสสาวะ
- ช่วยฟอกเลือด
- ป้องกันโรคหนองใน
- บรรเทาอาการไอและมีเสมหะ
- ต้านวัณโรค
- ต้านมะเร็ง
- ระงับเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- ปกป้องเซลล์สมอง และช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลได้ดี
ส่วนสรรพคุณของขมิ้นชันเมื่อนำมาใช้เป็นยาภายนอกก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมฟกช้ำ ช่วยสมานแผล ห้ามเลือด แก้เคล็ดขัดยอก น้ำกัดเท้า กลากเกลื้อน ชันนะตุ ช่วยบรรเทาอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง แมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการอักเสบ และที่นิยมนำขมิ้นชันมาใช้กันมากก็คือการนำมาบำรุงผิวพรรณนั่นเอง
4. ตำรับยาของขมิ้นชันและการนำไปใช้
การนำขมิ้นชันไปใช้นั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้แบบเหง้าสด เหง้าแห้ง แบบผง แบบแคปซูล หรือใช้ในรูปสารสกัดของขมิ้นชัน รวมไปถึงการนำมาบริโภคโดยด้วยการประกอบอาหารอย่างเช่น แกงไตปลา แกงเหลือง แกงฮังเล ข้าวหมกไก่ ผงกะหรี่ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำสีย้อมผ้า ใช้เป็นยาสมุนไพร และใช้บำรุงผิวพรรณอีกด้วย โดยตำรับยาของขมิ้นชันตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขในการใช้รักษาแผลหรือแมลงกัดต่อย ก็ให้นำผงขมิ้นชันชัน 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนกลายเป็นสีเหลือง นำน้ำมันที่ได้มาใส่แผล หรืออาจจะทำขมิ้นชันจนละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาใส่แผลก็ได้ ในการรักษากลากเกลื้อนก็ให้นำผงขมิ้นชันผสมกับน้ำนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน ส่วนการใช้ขมิ้นชันเพื่อรักษาอาการท้องเสียก็ให้นำผงขมิ้นชัน 1 กรัมมาผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานหลังอาหารวันละ 3 เวลา โดยรับประทานครั้งละประมาณ 3-5 เม็ด ส่วนการรับประทานขมิ้นชันในรูปแบบของแคปซูล ก็แนะนำให้รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้งหลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน เพื่อช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่วนการนำขมิ้นชันไปใช้ภายนอกเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้นก็นิยมนำผงขมิ้นชันมาผสมเข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ อย่างเช่น ดินสอพอง โยเกิร์ต นมสด น้ำผึ้ง น้ำมะนาว แล้วนำไปนวดหรือพอกบริเวณที่ต้องการแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ก็จะช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนนุ่ม เรียบเนียน ดูเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุให้เกิดสิว ช่วยสมานแผล และช่วยลดรอยแผลเป็นลงได้
5. ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน
ถึงแม้ว่าขมิ้นชันจะมีประโยชน์มากมายและไม่เป็นอันตรายแต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้อยู่ด้วยเช่นกัน อย่างแรกก็คือไม่ควรใช้ขมิ้นชันติดต่อกันเป็นเวลานานและรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป โดยไม่ควรรับประทานเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติขึ้นได้ รวมไปถึงผลข้างเคียงจากการใช้ขมิ้นชันในบางรายก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ เวียนศีรษะ สำหรับในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน หากต้องการรับประทานขมิ้นชันก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับประทาน นอกจากนี้ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ รวมไปถึงพวกที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขมิ้นชันเพราะขมิ้นชันนั้นอาจมีผลในการชะลอกระบวนการแข็งตัวของเลือดได้นั่นเอง ที่สำคัญคือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีหรือเป็นนิ่วในท่อน้ำดีนั้นไม่ควรรับประทานขมิ้นชันเพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ส่วนผู้ชายที่ต้องการจะมีบุตรก็แนะนำให้งดรับประทานขมิ้นชันไปก่อนเพราะขมิ้นชันอาจเข้าไปลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจินั่นเอง
ในปัจจุบันขมิ้นชันนั้นเป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีความปลอดภัยสูง และมักจะไม่มีผลข้างเคียงในการใช้ อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป แต่ทั้งนี้ในการรับประทานขมิ้นชันหรือนำขมิ้นชันมาใช้นั้นก็ควรที่จะใช้งานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขหรือตามคำแนะนำของบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อความปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้การเลือกใช้ขมิ้นชันที่มีการนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็ควรที่จะเลือกดูผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรองรับเพื่อความปลอดภัยและมั่นใจในการบริโภคนั่นเอง